วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุป

 คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยีตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์  ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา โดยสรุป เทคโนโลยีการศึกษาหมายความถึงการนำเอา วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่างๆมาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา การพัฒนาการการศึกษาที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาในอดีต เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา  ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค..1700  พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ค..1700-1900 (..2243-..2443) ก่อนปี ค..1800  เทคโนโลยีการศึกษา ค..1900-ปัจจุบัน (..2443-ปัจจุบันพัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทย ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษาอีกด้วย
  
บรรณานุกรม
กิดานันท์  มลิทอง.(2548).เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา : คณะครุศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รัฐกรณ์  คิดการ.(2543). เทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์.สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
สมิตา  บุญวาศ.(2546). เทคโนโลยีการศึกษา : คณะครุศาสตร์.สถาบันราชภัฏธนบุรีwww.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc

ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา

                   เมื่อกล่าวถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา สามารถแบ่งออกได้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1) 
ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง
3. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่
6. ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
8. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
9. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
10.ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
2) ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
2. ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
3. ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
4. ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
5. ลดเวลาในการสอนน้อยลง
6. สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
7. ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
8. ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
9. ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
10. ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย

3) ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์ดังนี้
1. สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
2. ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
3. สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
4. ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
5. ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
6. สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา

 1) ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
ปัญหาผู้สอน
ปัญหาผู้เรียน
ปัญหาด้านเนื้อหา
ปัญหาด้านเวลา
ปัญหาเรื่องระยะทาง
นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย
สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
1. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2. เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4. เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
2) บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. บทบาทด้านการจัดการ
2. บทบาทด้านการพัฒนา
3. บทบาทด้านทรัพยากร
4. บทบาทด้านผู้เรียน
จาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายนั้น ประกอบด้วย
1.การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
          1.1 การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
1.1.1) การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน
1.1.2) การให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ และการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่ดี
1.1.3) การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
1.1.4) การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
         1.2 การจัดหรือบริหารงานด้านบคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคลากร
          2. การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน ด้วยการวิจัย (Researci-tneory) การออกแบบ (Desing) การผลิต (Production) การประเมินผล (Evaluation) การใช้ (Utilizsiton) ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน เช่น ในด้านการวิจัยนั้น เราก็วิจัยทรัพยากรการเรียนนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่การวิจัย ข่าวสารข้อมูล บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ ดังนี้เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนในการพัฒนา และเอื้ออำนวยต่อกระบวนการสอนต่าง ในระบบการสอน จึงจะต้องมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการสอนและระบบการศึกษาด้วย
2.1 การวิจัย ในการพัฒนาทรัพยากรการเรียนเป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้า และทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎี (ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบระบบการสอนและผู้เรียน การวิจัยเป็นการพัฒนาโครงสร้างของความรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจในการดำเนินการผลของการวิจัยคือ ได้ความรู้ ซึ่งจะนำไปใช้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล อ่านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล วิเคราะห์และทดสอบผลลัพธ์ที่ได้
2.2 การออกแบบ เป็นการแปลความหมาย ความรู้ในหลักการทฤษฎีออกมาในรายละเอียด เฉพาะสำหรับเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน ผลลัพธ์ของการออกแบบได้แก่รายละเอียดเฉพาะสำหรับผลิตผลของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนในเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบหรือแหล่ง หรือทรัพยากรกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนวัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะผู้เรียน วิเคราะห์งาน กำหนดเงื่อนไขการเรียนกำหนดสภาวะการเรียน กำหนดรายละเอียดทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน
2.3 การผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมาย ข้อกำหนดรายละเอียดสำหรับทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนให้เป็นแบบลักษณะเฉพาะ หรือเป็นรายการที่จะปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตผลลักษณะเฉพาะในรูปแบบ ข้อทดสอบ แบบจำลอง กิจกรรมที่ดำเนินงาน ได้แก่ การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิต การเขียนแบบ การร่างแบบ การเขียนเรื่องหรือเค้าโครง สร้างแบบจำลอง
2.4 การประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน และเพื่อพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้ การประเมินผลการออกแบบ ประสิทธิผลของทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอนที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด การประเมินผลที่ได้ ทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบการเรียนที่เชื่อถือยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินผลเพื่อการประเมินผล เช่น ประเมินผลแบบจำลอง การประเมินผลเพื่อการเลือก …ประเมินผลเพื่อการใช้ ทรัพยากรการเรียนที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด กิจกรรมในการดำเนินงานใช้วิธีการวิเคราะห์คุณภาพ มีเกณฑ์มาตรฐานเป็นเครื่องกำหนด
2.5 การให้ความช่วยเหลือ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน เอื้ออำนวยต่อองค์ประกอบหน้าที่อื่น ๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือการสั่งจอง การจัดหาการแยกประเภทจัดหมวดหมู่ การทำแค็ตตาลอก การกำหนดตารางเรียน ตารางการใช้ การจำหน่ายจ่ายแจก การใช้เครื่องมือ การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบการสอน กิจกรรมที่ดำเนินการคือ การสั่ง การจัดคลังอุปกรณ์ การจัดหมวดหมู่ การทำแค็ตตาลอก การทำตารางสอน การจำหน่ายแจกจ่าย การใช้เครื่อง การซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพยากรการเรียน
2.6 การใช้ เป็นเรื่องของการใช้วัสดุ เครื่องมือ เทคนิคการวิจัยและการประเมินผล เพื่อให้การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิผล ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนมีการเลือก เช่น การเลือกวัตถุประสงค์การสอน การเลือกทรัพยากรการเรียน การกำหนดขนาดกลุ่ม-กลุ่มใหญ่-กลุ่มเล็ก หรือการเรียนแบบรายบุคคล มีการเตรียมการ เช่น เตรียมทรัพยากรการเรียนเตรียมผู้เรียน เตรียมชั้นเรียน มีการนำเสนอ และการประเมินผลการเรียน อันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งการสอนซ่อมเสริมสำหรับผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนไม่ได้มาตรฐานเท่าระดับชั้น หรือผู้เรียนที่มีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับส่วนบุคคล เป็นต้น

3. ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)
ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่
ข้อสนเทศ/ข่าวสาร (Message) คือ ข้อสนเทศที่ถ่ายทอดโดยองค์ประกอบอื่น ๆ ในรูปแบบของความจริง ความหมาย และข้อมูล
บุคคล (People) ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อสนเทศและข่าวสาร เป็นคณะบุคคลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ได้แก่ ครู นักการศึกษา นักวิชาการ
ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมงาน ปรับปรุง ผลิต ดำเนินการประเมินผลและพัฒนา เพื่อให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
4.วัสดุ (Material) ได้แก่สิ่งของ นิยมเรียนว่า software มี 2 ประเภท คือ
                    4.1 ประเภทที่ที่บรรจุหรือบันทึกข่าวสารที่จะต้องถ่ายทอดด้วยเครื่องมือ เช่น แผ่นเสียง ฟิลม์สตริป สไลด์ ภาพยนตร์ วิดีโอเทป ไมโครฟิลม์ ไมโครพิช ฯลฯ
      4.2 ประเภทที่ตัวของมันเองใช้ได้ และไม่ต้องพึ่งเครื่องมือ เช่น แผนที่ ลูกโลกหนังสือ ของจริง ของจำลอง ฯลฯ เป็นต้น
5. เครื่องมือ (Devices) เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นตัวถ่ายทอดข่าวสารที่บรรจุหรือบันทึกไว้ในวัสดุ (นิยมเรียกว่า Hardware) ส่วนมากจะเป็นเครื่องกลไก ไฟฟ้า และ อิเล็คทรอนิค บางอย่างก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องกลไกที่ใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็คทรอนิค ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ เครื่องฉายภาพทึบแสง กล้องถ่ายรูป-ถ่ายภาพยนตร์-โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ และอ่านไมโครฟิล์ม/ไมโครพิช กระดานดำ ป้ายนิเทศ
6. เทคนิค (Techniques) เป็นกลวิธีในการถ่ายทอดข่าวสารหรือเสนอเนื้อหาวิชา-ความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้แก่
    6.1 เทคนิคทั่วไป (Gerneral Technique) ได้แก่ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสาธิต การสังเกต การอภิปราย การแสดงนาฎการ การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติการเรียน แบบแก้ปัญหา หรือแบบค้นพบและแบบสอบสวน และสืบสวน การเรียนการสอนแบบโปรแกรม สถานการจำลอง เกมต่างๆ การเรียนการสอนแบบโครงการ ฯลฯ
    6.2 เทคนิคการใช้ทรัพยากร (Resource-based Techniques) ได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การใช้ทรัพยากรชุมชน การจัดห้องเรียน
    6.3 เทคนิคการใช้วัสดุและเครื่องมือ (Material/devices-based Techniques) เป็นเทคนิคของการใช้วัสดุและเครื่องมือในการจัดการศึกษา และการเรียนการสอนเช่น ใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการเรียนการสอนใช้บทเรียนแบบโปรแกรมตลอดจน เทคนิคการเสนอเนื้อหาวิชาด้วยวิธีการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ด้วยวิธีการเสนอที่ดีเช่น ใช้วิธีบังภาพบางส่วนที่ยังไม่ใช้ก่อนเมื่อใช้จึงเปิดส่วนนั้นออกมา หรือเทคนิคการใช้สื่อประสมเพื่อให้ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดที่กระจ่างจากตัวอย่าง หรือการแสดงด้วยสื่อหลายชนิด
    6.4 เทคนิคการใช้บุคคล (People-based Technique) ได้แก่ เทคนิคในการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงาน เช่น การสอนเป็นคณะ เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ หรือพลวัตรของกลุ่ม การสอนแบบซ่อมเสริม ตัวต่อตัว หรือการสัมมนา ฯลฯ เป็นต้น
สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งแวดล้อมในการเรียนอย่างหนึ่ง ควรจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน เพื่อที่จะประกอบการศึกษา ค้นคว้า หรือการเรียนในรูปแบบต่างๆ
4. ผู้เรียน (Learner) จุดหมายปลายทางรวมของเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของแต่ละคน อันจะทำให้เราสามารถที่จะออกแบบระบบการเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอน หรือสนองวัตถุประสงค์ผู้เรียน ได้ให้บรรลุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีสิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น เกี่ยวกับอายุ เพศ ระดับไอคิว ประสบการณ์เดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติระดับความสามารถในการอ่าน คะแนนการทดสอบสุขภาพทางด้านการฟัง การพูดมีความบกพร่อง ทางด้านกายภาพอื่น ๆ บ้างหรือไม่ สุขภาพจิต สุขภาพทางร่างกายโดยทั่วไป ความสนใจพิเศษ งานอดิเรก ความคล่องแคล่วในภาษา ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม สัมพันธ์ของผู้เรียน สภาพทางครอบครัวอยู่ในชนบทหรือเมือง ความเจริญก้าวหน้าของการเรียนในวิชาต่างๆ แบบวิธีการเรียน เรียนเร็วช้า ความตั้งใจ เป็นแบบเป็นแผนหรือแบบยืดหยุ่น แบบแนะแนวหรือแบบเรียนได้ด้วยตนเอง ลักษณะงานและการประกอบกิจที่เหมาะสม ความสนใจในวิชาชีพ ทักษะการอ่านภาพ และการฟังความ ฯลฯ เป็นต้น

นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทย

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประชาชนเสรีภาพในการสื่อสาร ( มาตรา 37 ) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว        ( มาตรา 36 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าว ความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 39 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าวสาร ( มาตรา 58 และ 59 ) การกระจายอำนาจในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นสารสนเทศ(มาตรา 78 ) และเสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา 37) และ เสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา37,39,41,58,และ 59) ที่สำคัญคือ บทบัญญัติในมาตรา 40 ซึ่งระบุไว้ว่าคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรณหนี่งและกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจกรรมโทรคมนาคมทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่ง ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรมความมั่นคงของรัฐ และ ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม"
การจัดทำแผนแม่บทกิจกรรมกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมดังกล่าว ต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยจะต้องจัดให้ภาครัฐประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ ในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อมในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อมให้ กสช ให้การสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ในสัดส่วนตามที่กำหนด
เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนได้ใช้ และการสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ให้           ประชาชนใช้และการสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ของประชาชน ให้ กสชกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของภาคประชาชนที่พึงได้รับการจัดสรรและสนับสนุนให้ใช้คลื่นความถี่ รวมทั้งลักษณะการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรร โดยอย่างน้อยประชาชนนั้นต้องดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ
มาตรา 27 การกำหนดเกณฑ์และการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบ อนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ให้คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 เป็นสำคัญ
2.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1)            มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุการจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และ การสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลป และวัฒนธรรมตามความจำเป็น
2)            มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียนตำราหนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แจงจูงใจแก่ผู้ผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
3)            มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
4)            มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
5)            มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อ ให้เกิดการใช้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
6)            มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อการพัฒนาคนและสังคมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรวงเงินกองทุนเพื่อผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
7)            มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย

เทคโนโลยีการศึกษาของไทยมีการพัฒนาการมา 3 ยุค คือ
1. ยุคแรกสมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทย เพราะตัวอักษรเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเผยแพร่วิทยาการต่างๆ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกหวงแหนชาติไทยนอกจากนี้พระองค์ยังทรงเอาใจใส่ต่อการศึกษาของประชาชนด้วย ดังเช่น การสั่งสอนประชาชน ณ พระแทนมนังคศิลา ทั้งด้วยพระองค์เองและทรงนิมนต์พระภิกษุมาสั่งสอน เล่าเรื่อง การเทศนา การเขียนเป็นหนังสือ ฯลฯ ยุคนี้มีเทคโนโลยีการศึกษาผ่านสื่อวรรณกรรมที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ภาษิตพระร่วง และไตรภูมิพระร่วง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เทคโนโลยีการศึกษาได้ก้าวหน้าไปมาก ทั้งด้านวิชาการทั้งในประเทศและวิทยาการจากประเทศตะวันตก หนังสือเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ จินดามณีก็เกิดขึ้นในยุคนี้ นอกจากนี้ก็มี วรรณกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงดำเนินนโยบายต่างประทศระบบเปิด ต้อนรับชาวต่างประเทศ การค้าและการศาสนา ส่วนหนึ่งของชาวยุโรปเหล่านี้ ได้แก่ คณะมิชชั่นนารี ได้นำวิทยาการใหม่ ๆ หลายประการจากยุโรปมาเผยแพร่ในประเทศด้วย เช่น การพิมพ์ การจัดตั้งโรงเรียน แต่วิทยาการเหล่านี้ไม่ได้นำมาใช้อย่างจริงจัง ก็เลิกล้มไปเพราะพระมหากษัตริย์สมัยหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ต้องการให้ชาวยุโรปเข้ามาดำเนินการกิจการต่างๆ ในประเทศไทย ในสมัยกรุงธนบุรี เทคโนโลยีการศึกษามีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะประเทศได้รับความเสียหายมาก จากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.. 2310 พระเจ้ากรุงธนบุรีใช้เวลาส่วนใหญ่ในการรวบรวมคนไทย และบูรณะประเทศให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งสมัยนี้มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปีเทคโนโลยีการศึกษาในสมัยนี้จึงมีเพียงวรรณกรรมเท่านั้น
2. เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน ในยุคนี้นับตั้งแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยมากขึ้น แทนอังกฤษและฝรั่งเศษ สหรัฐอเมริกาได้นำเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่หลายอย่างมาเผยแพร่ในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยภาพยนตร์ ที่สำนักข่าวสารอเมริกัน ได้นำมาฉาย หลายเรื่องมาสามารถนำมาใช้ในการศึกษาได้ ทำให้คนไทยเห็นคุณค่าของภาพยนตร์เพื่อนำมาใช้ในการศึกษา กองการศึกษาผู้ใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการเริ่มนำภาพยนตร์มาใช้ในการให้การศึกษา ในยุคนี้เองได้มีการบัญญัติศัพท์ " โสตทัศนศึกษาขึ้นโดยมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Audio Visual
โสตทัศนศึกษาในยุคนี้พัฒนาอย่างมีระบบแบบแผน อีกทั้งได้มีการเปิดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งขั้นปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ทำให้ก้าวหน้ากว่าทุกยุคที่ผ่านมาโดยเฉพาะสหรัฐมเมริกาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการจัดการศึกษาของไทย ทั้งนี้เพราะมีนักการศึกษาและผู้บริหารการศึกษาคนไทยได้มีโอกาสไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้ แบ่งออกได้เป็นรูปแบบต่างๆดังนี้
                1) เทคโนโลยีการสอน ได้มีการคิดค้นวิธีการเรียนการสอนใหม่ ๆ ขึ้นมาหลายอย่าง ทั้งจากการประยุกต์จากวิทยาการของต่างประเทศและจากการสร้างขึ้นมาเอง เช่น ระบบการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน ระบบการสอนแบบเบญจขันธ์ ระบบการสอนแบบจุลภาค ระบบการการสอนแบบสืบสวนสอบสวน ฯลฯ ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ ล้วนเอาแนวคิดจากตะวันตกมาทั้งสิ้น
2) เทคโนโลยีด้านสื่อ สื่อการศึกษาในยุคนี้ส่วนใหญ่พัฒนามาจากผลิตผลทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เช่น เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปร่งใส นอกจากนี้ยังได้มีการนำวิทยุและวิทยุโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษาด้วย แต่การนำรูปแบบสื่อจากประเทศตะวันตกมาใช้ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เพราะสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน นักการศึกษาของไทยจึงได้พัฒนาสื่อการศึกษาขึ้นมาเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ โดย การใช้ทรัพยากรพื้นบ้าน ใช้สื่อราคาเยาว์เช่น ผลงานวัตกรรมพื้นบ้านเพื่อการสอนของธนู บุญรัตพันธุ์ วิธีการและวัสดุอุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ที่ผู้สอนคิด ประดิษฐ์ขึ้นเองเช่นวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของ โช สาลีฉันท์ ซึ่งมีผลิตผลที่ใช้วัสดุเหลือใช้ต่างๆ ในท้องถิ่น จึงเป็นแนวโน้มที่ดีในการเลือกและใช้สื่อในการศึกษา
3) การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการจัดตั้งสถาบันและหน่วยงานต่างๆขึ้นเช่น ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสถาบันการศึกษาต่างๆก็มีการจัดตั้งศูนย์ที่ทำหน้าที่ด้านสื่อขึ้นมา เพื่อตอบสนองและส่งเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น

3. ยุคสารสนเทศ
เทคโนโลยีการศึกษาในยุคสารสนเทศ เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารเป็นอย่างยิ่งคือเริ่มตั้งแต่ พ.. 2530 เป็นต้นมา อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการสื่อสารและสังคมทำให้บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้จึงแบ่งได้เป็น รูปแบบคือ
1) เทคโนโลยีด้านสื่อ
2) เทคโนโลยีการสื่อสาร
3) เทคโนโลยีด้านระบบ
4) เทคโนโลยีการสอน
มุมมองเทคโนโลยีที่สมัยเก่ามองเป็นภาพของโสตทัศนศึกษาเปลี่ยนไป ปรับเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษายังอยู่แต่เน้นการนำเอาเทคโนโลยีสื่อสารและการสนเทศ (Information and Communication Technology) มาใช้เพื่อความทันสมัยและทันกับความก้าวหน้าของการสื่อสาร


พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต

ตลอดระยะเวลาประมาณ 2 ศตวรรษ นับแต่ปี ค..1960 เป็นต้นมา สื่อการศึกษาบางประเภท ได้ถูกนำมาใช้กับงานการศึกษามากขึ้น ผลจากการค้นคว้าทดลองของนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์บวกกับแนวความคิดของนักการศึกษา ก่อให้เกิดความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทางเครื่องมือทางการศึกษาขึ้น เช่น ทางด้านการใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษามวลชน การใช้โทรศัพท์ในลักษณะวงจรปิดเพื่อเรียนเป็นกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีวีดิโอเทป ซึ่งกลุ่มผู้เรียนเป้าหมายแคบลง ๆ การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ มาพ่วงกับความคิดและการพัฒนาการสอนในลักษณะใหม่ เช่น การเรียนด้วย
ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัดนั้น นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเนื่องจากการก่อกำเนิดของวิทยุโทรทัศน์ และยังได้มีการนำเสนอเอาทฤษฏีทางด้านสื่อสารมวลชนและทฤษฏีระบบเข้ามาใช้ในวงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จึงมีการใช้คำว่า "การสื่อสารทางภาพและเสียงหรือ "audio-visual communications" แทนคำว่า "การสอนทางภาพและเสียง"

3.) เทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1900-ปัจจุบัน (พ.ศ.2443-ปัจจุบัน)

ใน ค.. 1900 William James ได้เขียนหนังสือชื่อ Talks to Teacher on Psychology อันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการสอนนั่นก็หมายความว่า ได้เริ่มมีผู้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอนกันแล้ว และในปีเดียวกันนี้ John Dewey (1859-1952) ได้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอน และทำให้ห้องเรียนเป็นห้องปฏิบัติการทดลองด้วย รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง คือ ค.. 1900 Edward  I. Thorndike (1874-1949) ได้เสนอวิชาการวัดผลการศึกษาเป็นวิชาหนึ่งในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและต่อมาได้กลายเป็นวิธีการวิจัยปัญหาต่าง ๆ ทางการสอนเป็นวิธีแรก ดังนั้น ธอร์นไดค์ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการวัดผลการศึกษา G. Stanley Hall (1846-1924) ได้เขียนหนังสือชื่อ Adolescence (1904) นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ Alfred Binet (1857-1911) และ Theodore Simon ได้ร่วมกันเขียนหนังสือชื่อ A Method of Measuring The Intelligence of Yound Children ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมที่แท้ และทฤษฎีการเรียนรู้โดยเฉพาะได้เริ่มนำเข้ามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางการสอนในช่วงนี้เอง
ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ปรากฏว่า ทฤษฎีทางการสอนของธอร์นไดค์ และดิ้วอี้ นั้นไม่สามารถจะได้ด้วยกันได้ เนื่องจากดิวอี้เน้นในเรื่องของการปฏิบัติ ซึ่งอาศัยพื้นฐานการสังเกตและการตั้งสมมติฐานแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ถึงแม้เขาจะย้ำให้มีการสอบถาม การทดสอบและการวิจารณ์อยู่บ้างก็ตามที ในทางตรงกันข้าม ธอร์นไดค์ กลับใช้การสังเกตและการสืบสวนเป็นหลักการสำคัญ ดังนั้นทฤษฎีของธอร์นไดค์จึงถูกนักการศึกษากลุ่มของดิวอี้ซึ่งเชื่อหลักเสรีประชาธิปไตยของการเรียนด้วยการปฏิบัติคัดค้าน ถึงแม้วิธีการของดิวอี้จะยังไม่ได้รับการทดสอบก็ตาม
1.เทคโนโลยีการศึกษาของธอร์นไดค์
Edward L. Thorndike (1874-1949) นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวอเมริกาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ มีชื่อว่า ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) จากการที่ธอร์นไดค์ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ของสัตว์ และต่อมาได้กลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทั่วไปโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในนามทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในเรื่องนี้ นอกจากธอร์นไดค์จะได้ย้ำในเรื่องการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำแล้ว เขายังให้ความสำคัญของการให้รางวัลหรือการลงโทษ ความสำเร็จหรือความผิดหวังและความพอใจหรือความไม่พอใจแก่ผู้เรียนอย่างทัดเทียมกันด้วย
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ได้เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) เขาเชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการที่มนุษย์หรือสัตว์ได้เลือกเอาปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้องนั้นมาเชื่อมต่อ (Connect) เข้ากับสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการสร้างสิ่งเชื่อมโยง (Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้เกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงเรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ว่า ทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับตอบสนอง (S-R Bond Theory) หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Conectionism Theory)
จากการทดลองและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ อันถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นที่นำไปสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน กฎทั้ง 3 ได้แก่
1.กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ซึ่งเขาได้ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
2.กฎแห่งผล (The Law of Effect) เป็นกฎที่มีชื่อเสียงและได้รับความสนใจมากที่สุด ใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือรางวัลหรือความสมหวัง จะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้นมากขึ้น แต่การทำโทษหรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
3.กฎแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) กฎนี้หมายถึงความพร้อมของร่างกาย ในอันที่จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมา
2.เทคโนโลยีการศึกษาของดิวอี้
เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนของ จอห์น ดิวอี้ มีความสำคัญต่อระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวความคิดในการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ดิวอี้ได้ศึกษาเรื่องนี้กับ ฮอลล์ ที่มหาวิทยาลัย จอห์น ฮอบกิน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต หลังจากที่ดิวอี้ จบจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เขาได้สอนที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน มินิโซตา และชิคาโก จากนั้นเขาได้ไปสอนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี ค..1904 นักจิตวิทยาการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้ ตรงกับข้ามกับ ธอร์นไดค์ ดิวอี้ เชื่อว่าสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ดิวอี้ ได้โจมตีพวกมีความเชื่อในเรื่องมโนภาพแบบสะท้อนกลับ (The Reflect Arc Concept) ซึ่งยืนยันการเรียนรู้รวมเอาการมีผลกระทบต่อกัน ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อมของเขาเข้าไว้ด้วยจากการทดลองของดิวอี้ที่มีต่อเทคโนโลยีการศึกษานั้น น่าจะได้แนะแนวความคิดของเขาที่เกี่ยวกับการสอน ซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์สำหรับดิวอี้ ควรคิดที่ให้ผลคุ้มค่าก็คือวิธีการไตร่ตรอง (Reflective Method) หรือการพิจารณาอย่างรอบคอบและแน่นอน เกี่ยวกับความเชื่อหรือแบบแผนของความรู้ที่เกิดขึ้น สาระของวิธีการแบบไตร่ตรองของดิวอี้ มีอยู่ในหนังสือชื่อ How We Think ซึ่งได้กล่าวถึงการไตร่ตรองในฐานะที่เป็นความเคลื่อนไหวทางจิตวิทยา โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้เรียนปะทะกับปัญหา เขาจะต้องรู้จุดมุ่งหมายบางอย่าง และรู้สึกถูกกีดกันจากอุปสรรคที่สอดแทรกเข้ามา ดังนั้นเขาจำเป็นต้องทำให้มีความต่อเนื่องกัน
2.หลังจากได้ปะทะกับปัญหา หรือรู้สึกว่าข้อมูลที่รู้มาขัดแย้งกัน เขาจะตั้งสมมติฐานขึ้นเพื่อกำหนดคำตอบลองดู ซึ่งอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ใช้ได้
3.บางครั้งภาวะการณ์ที่เป็นปัญหา ได้รับการตรวจสอบและสังเกตเพื่อเอาความและประสบการณ์ที่มีอยู่มาใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ขั้นตอนต่าง ๆ ที่นำมาให้ต่อเนื่องกันเป็นกิจกรรมของผู้เรียน หรือจุดมุ่งหมายของผู้เรียน จะต้องได้รับการทำให้เห็นได้ชัดเจนเพียงพอ
4.ผู้เรียนต้องทดสอบสมมติฐานต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้น และพยายามพิสูจน์ผลที่ได้รับจากสมมติฐานนั้น
5.สุดท้ายผู้เรียนจะต้องสรุปให้ได้ ซึ่งจะรวมเอาทั้งการยอมรับ การขยายหรือการปฏิเสธสมมติฐานหรือมันอาจจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าหลักฐานที่เชื่อถือได้ ไม่อาจทำให้มีพื้นฐานสำหรับการกระทำ หรือไม่อาจจะทำให้ได้ข้อความ (Statement) ที่ยืนยันได้แน่นอน
3. เทคโนโลยีการศึกษามอนเตสซอรี
Maria Montessori (1870-1952) นักการศึกษาสตรีชาวอิตาลีผู้บุกเบิกเกี่ยวกับการสอนแบบ Nourishing สำเร็จการศึกษาทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัยโรม แต่เพราะความสนใจในเรื่องพัฒนาการและกิจกรรมของเด็ก ทำให้เธอหันเหชีวิตจากงานด้านการแพทย์เข้ามาสู่การศึกษา เธอไปเป็นครูระหว่างปี ค..1899-1901ในช่วงนี้เธอได้ปรับปรุงเทคนิคการสอนทางจิตของเด็กที่พิการเพราะขาดแคลนอาหาร โดยอาศัยพื้นฐานทางวิธีการและอุปกรณ์ของ Seguin (เป็นนักเทคโนโลยีทางการศึกษาชาวฝรั่งเศลที่ศึกษาเกี่ยวกับเด็กพิการทางจิต เช่น Idiot เป็นต้น เขามีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.. 1812-1880)
เมื่อมอนเตสซอรีเขียนหนังสือ "Scientific Pedagogy as Applied to Child Education in the Children's Houses" ออกพิมพ์เผยแพร่ในปี ค..1909 ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไป นักการศึกษาสำคัญ ๆ จากทั่วโลกไปสังเกตวิธีสอนที่โรงเรียนของเธอเป็นจำนวนมาก
แนวคิดพื้นฐานของวิธีสอนแบบมอนเตสซอรี เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนของมอนเตสเซอรี มีลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.การจัดกิจกรรมของโรงเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน
2.แบ่งเด็กให้มีโอกาสทำงานได้อย่างอิสระ โดยไม่ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนฝ่ายเดียว
3.เน้นในเรื่องลักษณะการแบ่งแยกระบบประสาทสัมผัส
หลักการพื้นฐานของวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี มีอยู่ 2 ประการคือ
1.ยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานอย่างมีอิสระ โดยไม่คำนึงถึงแต่เพียงเฉพาะในเรื่องของสภาวะทางกายภาพในห้องเรียนและบรรยากาศทางจิตวิทยาเท่านั้น
2.ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน สื่อการสอนและธรรมชาติของกระบวนการสอนด้วย
4.เทคโนโลยีการศึกษาของเลวิน
จากการศึกษาค้นคว้าทดลองของ Kurt Lewin ที่มหาวิทยาลัยแห่งเบอร์ลิน ประมาณปลายปี ค..1920 ทำให้เกิดหลักการทฤษฎีที่สำคัญขึ้นมาทฤษฎีหนึ่ง และถึงแม้ทฤษฎีนี้จะได้ทดลองปฏิบัติอย่างใกล้ชิดกับจิตวิทยาเกสตัลท์ ในกรุงเบอร์ลินก็ตาม แต่ทฤษฎีของเลวิน มีความสัมพันธ์กับนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ตามที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง
ทฤษฎีทั่ว ๆ ของเลวิน ถึงแม้การกล่าวถึงทฤษฎีทั่ว ๆ ไป ของเลวินจะไม่ใช่จุดมุ่งหมายของเราในการศึกษาเรื่องพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา แต่การได้ทราบถึงจุดเริ่มของการศึกษาค้นคว้าและทฤษฎีของเขา จะช่วยให้เราเข้าใจมูลฐานของการสร้างทฤษฎีการเรียนรู้ของเขาแจ่มแจ้งขึ้น ทฤษฎีของเลวินมีลักษณะคล้ายกับทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ ในแง่ที่ว่า เขาได้เน้นในเรื่องการจัดสถานการณ์เพื่อการตอบสนองในลักษณะรวมทั้งหมด (As a whole) ไม่ใช่การพิจารณาส่วนย่อยของสถานการณ์หรือสิ่งนั้น ๆ แต่ทฤษฎีของเลวินก็ต่างไปจากเกสตัลท์ในเรื่องเกี่ยวกับการจูงใจ โดยเขาได้เน้นในเรื่องเกี่ยวกับการจูงใจเป็นหลักการสำคัญ
Life Space หรือที่เราเรียกกันว่า อวกาศแห่งชีวิตตามแนวคิดของเลวินนั้น เขาใช้คำนี้ เพื่อต้องการหมายถึง อวกาศหรือห้วงแห่งชีวิตอันเป็นเสมือนโลกอีกโลกหนึ่งต่างหาก ซึ่งเป็นโลกทางความคิดหรือโลกของจิต (Rsychological World) ของแต่ละบุคคล อวกาศแห่งชีวิตจะมีอิทธิพลหรือความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของบุคคลแต่ละคน ตามแต่เขาจะมีอวกาศแห่งชีวิตอย่างไร
ส่วนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ Topological ของเลวินนั้น เขาใช้เพื่ออธิบายโครงสร้างเกี่ยวกับการรับรู้และปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่ควรจะดำเนินการไปได้ของอวกาศแห่งชีวิตในลักษณะของย่าน (Regions) และอาณาเขตหรือขอบเขต (Boundaries) เช่น ในอวกาศแห่งชีวิตของคน ๆ หนึ่ง สมมติว่าเขากำลังคิดถึงเรื่องของ "การกินในตอนนี้เป็นเรื่องของย่าน (Regions) ความคิดเขาจะมีปฏิกิริยาในขอบเขต (Boundaries) ต่าง ๆ กันออกไปตาม แต่ว่าในขณะนั้น เขาหิวหรืออิ่ม เป็นต้น
 5.ทฤษฎีการศึกษาของสกินเนอร์
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอาการกระทำ (Operant Conditioning) หรือพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ของ B.F. Skinner จัดว่าเป็นทฤษฎีที่เสริมต่อจากทฤษฎีจิตวิทยา S-R หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์และทฤษฎีพฤติกรรมของ Watson โดยรวมเอาแนวคิดของทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน กล่าวคือ เขามีความเห็นว่ามนุษย์เรานั้นมีลักษณะที่เป็นกลางและอยู่นิ่งเฉย (Man is neutral and passive) ดังนั้น พฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์จึงสามารถอธิบายได้ด้วยเรื่องของกลไก (Mechanistic) ในการควบคุมพฤติกรรม จากการทดลองสกินเนอร์ จึงได้เกิดเป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เขาเรียกว่า ทฤษฎีเงื่อนไขแบบอาการกระทำ (Operant Conditioning) พอสรุปได้ดังนี้ คือ "การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเร้าด้วยการเสริมแรง อัตราความเข้มแข็งของการตอบสนองจะมีโอกาสสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนตัวเสริมแรงปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary and Secondary Reinforces) ดังนั้นพฤติกรรมในด้านการตอบสนองต่อตัวเสริมแรง จึงมีแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของการเสริมแรง